CONSTRUCTTION

Search
Close this search box.

อุตสาหกรรมการก่อสร้าง-เส้นทางก่อร่างของธุรกิจ

Home Guide อุตสาหกรรมการก่อสร้าง-เส้นทางก่อร่างของธุรกิจ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

อุตสาหกรรมการก่อสร้างกับค่า GDP

          คุณรู้หรือไม่ว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้นถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญต่อรายได้ของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้นถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการจ้างแรงงานที่สูงมาก โดยอุตสาหกรรมก่อสร้างมีขนาดใหญ่คิดเป็น 8-9% ของ GDP จึงมีการส่งผลต่อค่า GDP ของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่จะต้องเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นคือการลงทุนทางธุรกิจทั้งภายใต้โครงการของรัฐและเอกชน ซึ่งล้วนมีผลต่อการเงินหมุนเวียนทางระบบเศรษฐกิจรวมถึงการจ้างงานได้ โดยถือเป็นการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศก็ว่าได้ ด้วยอีกทั้งปัจจุบันได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการก่อสร้างในอีกหลายๆประเทศ

รูปแบบอุตสาหกรรม

          โดยที่อุตสาหกรรมการก่อสร้างได้มีการวางรากฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ในระยะยาวนั้น สามารถเป็นแรงผลักดันให้มีนักธุรกิจชาวต่างชาติได้หันเข้ามาการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าของการลงทุนก่อสร้างโดยรวม อันมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นถึง 4.5-5.0% ในปี 2564 และ 5.0-5.5% ในปี 2565-2566 ทั้งนี้ล้วนมาจากปัจจัยต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งมาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ อันจะมีส่วนในการเหนี่ยวนำการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนให้ขยายตัวตามไปด้วย อาทิเช่น นิคมอุตสาหกรรม หรือเหล่าโรงงานต่าง ๆ มากมาย ไปจนถึงที่อยู่อาศัย ที่ภาคเอกชนได้มีการลงทุนขึ้น โดยจากที่ได้กล่าวมานี้ล้วนจะสามารถแบ่งรูปแบบของอุตสาหกรรม ได้ดังต่อไปนี้

  • งานก่อสร้างภาครัฐ: ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็นสัดส่วน 82% ของมูลค่าก่อสร้างภาครัฐทั้งหมด อาทิเช่น ประเภทงานทาง งานทางรถไฟทั้งรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง งานท่าอากาศยาน งานเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญด้านคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายด้านโลจิสติกส์และขนส่งของไทยให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนและภาคขนส่งสินค้ามีความสะดวก รวดเร็ว และมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมไทยพัฒนาเติบโตต่อไปในอนาคต
  • งานก่อสร้างภาคเอกชน: กระจุกตัวในงานก่อสร้างที่อยู่อาศัย มีสัดส่วนคิดเป็น 54% ของมูลค่าก่อสร้างภาคเอกชนทั้งหมด

          โดยกลุ่มอุตสาหกรรมภาคเอกชนคือกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง SMEs เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ นั่นเป็นเพราะธุรกิจก่อสร้างเหล่านี้ถือเป็นแหล่งการจ้างแรงงาน อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการดำเนินการของธุรกิจก่อสร้างขนาดใหญ่ในลักษณะของพึ่งพาอาศัยกัน นอกจากนี้แล้วการกระจายอยู่ตามชุมชนของ SMEs มีส่วนให้การพัฒนาและความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม โดยสามารถเห็นได้จากการกระจายไปทั่วประเทศของธุรกิจในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักประสบปัญหาอันเกิดจากการบริหารจัดการงานก่อสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนแป็นเหตุให้ไม่สามารถกำหนดสัดส่วนต้นทุนของแต่ละส่วนในงานการก่อสร้างได้ชัดเจน จึงทำให้ปัจจุบันธุรกิจก่อสร้างติด 1 ใน 3 ธุรกิจ ได้มียอดการจดทะเบียนเลิกกิจการมากที่สุดตั้งแต่ปี 2557 – 2562

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนกับการปรับใช้

          ดังนั้น จึงได้มีการนำแนวคิดที่เรียกว่า แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาปรับใช้เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในมุมของอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อช่วยแก้ปัญหาภายในธุรกิจให้มีการจัดการได้อย่างมีศักยภาพในหลายภาคส่วน โดยสาเหตุหลักอาจเป็นสาเหตุ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและพลังงานที่จำเป็นต้องอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีการรองรับเป็นทรัพยากรในการใช้มากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลดของเสียและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฏจักรผลิตภัณฑ์

          โดยเพื่อให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืนของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งจะถูกรวมไว้ด้วยสองส่วนหลัก คือ ส่วนที่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง และส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณมาก แต่ทั้งนี้ ในปัจจุบันนี้ การทำธุรกิจนี้ จึงต้องอาจมีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการปัญหาเศษวัสดุก่อสร้างและการรื้อถอน เนื่องด้วยจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง จะถูกรวมไว้ด้วยสองส่วนหลักเสมอ คือ ส่วนที่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง และส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร หรือเรียกได้อีกอย่างว่าสิ่งปลูกสร้างนั่นเอง และนอกจากที่กล่าวมาก็ยังมีธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณมาก ตั้งแต่การผลิตวัสดุสำหรับใช้ในการก่อสร้าง เช่น วัสดุที่เป็นส่วนประกอบทางโครงสร้างอาคาร (ปูนซีเมนต์ เหล็ก ไม้) ซึ่งถือวัสดุที่เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม (หลังคา ฝ้าเพดาน กระเบื้อง) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

New Posts

บทความทั้งหมด

Share Social :
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Email

Related Posts